top of page

ที่นี่แหลมโพธิ์ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

ตอนที่ 1

3.jpg
5.jpg

            วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ในยามว่างเสาร์-อาทิตย์มีเด็กบางกลุ่มใด้มีกิจกรรมในการวางอวนปลากระบอกหรือในพื้นที่เรียกว่าอวนรถพ่วงข้าง(ปูกะโช่เลย์)เพราะสามารถที่จะจับสัตว์นำ้ได้หลายชนิดที่เหมื่อนรถโช่เลย์ที่สามารถบันทุกได้หลายอย่าง จะเป็นอวนสามชั้นใช้เส้นเอ็นชั้นแรกจะเป็นอวนตาขนาดใหญ่ประมาณ 8 cm ชั้นในจะเป็นตาอวนขนาด 3.5 cm.และจะมีตาอวนขนาด 8 cm.ปิดอีกชั้น หนึ่งผืนจะมีความลึก 75-100 ตาอวน ยาวประมาณ 35 เมตร ราคาต้นทุนอยู่ที่ 750-1,000 บาทต่อผืนและในเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจะใช้อวนประมาณ15-20 ผืนต่อลำ การวางอวนจะมี 2 รูปแบบ 1.วางแบบปกติประมาณ1-2 ชั่วโมงยกหนึ่งครั้ง 2.วางแบบล้อมฝูงแล้วขดเวียนเข้าข้างในเหมือนก้นห้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการจับสัตว์น้ำในทะเลใน(อ่าวปัตตานี) สามารถทำการประมงได้ทั้งปี นี่เป็นวิถีชีวิตที่ชุมชนสามารถอยู่ได้โดยอาศัยทัยากรในพื้นที่อย่างมีจิตสำนึกและสามารถใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนต่อไป. เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของเครื่องมือในการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลแหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ติดตามการใช้เครื่องในการทำประมงพื้นบ้านต่อไปว่าที่นี่แหลมโพธิ์ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไรติดตามตอนต่อไป..

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                           สมาคมรักษ์ทะเลไทย

 

 

 

 

 

ตอนที่ 2

13.jpg
9.jpg

        วันนี้นำเสนอเครื่องมือทำประมงของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่คือ อวนลอยปลาใหญ่(ปูกะปีตา) ซึงชื่อปูกะปีตานั้นเรียกจากลักษณะของเนื้ออวนที่ใช้เส้นเอ็นขนาดเล็กที่ม้วนประสานพันเกลียวเป็นเส้นเอ็นขนาดใหญ่ เมื่อวางอวนปลามาติดอวนเส้นเอ็นจะแตัวทำให้ปลาติดแน่นกว่าอวนปกติ ขนาดอ้วน 1 ผืนจะมีความยาว 40 เมตรความลึก ประมาณ 3 เมตร ขนาดตาอวน มีความกว้าง 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป ราคาต่อผืน เฉพาะเนื้อควรจะอยู่ที่ประมาณ 1,800 บาท แต่เมื่อประกอบมาตรอวน พร้อมใช้ จะอยู่ที่ต้นทุน ประมาณ 2,500 บาทต่อผืน เรือ 1 ลำจะใช้ ใช้อวน ประมาณ 40 ถึง 100 ผืน จะออกไปวางห่างจากฝั่ง ประมาณ 10-15 ไมล์ทะเล จะวางจากผิวน้ำ ลึกลงไปประมาณ 3 เมตร จะวางแนวยาวตัดกระแสน้ำ ให้ลอยไป ประมาณ 1-2 ชั่วโมงจะลากอวนขึ้นเรือ ปลาที่ได้ จะมีหลายชนิดตัวอย่างเช่นปลากระทงร่ม ปลาอินทรีย์ ปลาจาระเม็ด ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาอีโต้มอญ ฯลฯ อ้วนลอยปลาใหญ่ หรือปูกะปีตา เป็นเครื่องมือการทำประมง ปลาใหญ่ ที่อยู่บนผิวน้ำ การวางอวนส่วนใหญ่ จะออกไปวางในเวลากลางคืน ประมาณ 2:00 น- 3:00 น และจะยกอวนในช่วงเช้า อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้ทำลายล้าง ไม่ได้ล้างผลาญ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้าน ส่วนใหญ่ให้ใช้พื้นที่ ปัตตานี นราธิวาส โดยเฉพาะพื้นที่แหลมโพธิ์ จะมี อวนชนิดนี้ ใช้ อย่างแพร่หลาย นี่เป็นส่วนหนึ่ง ขอเรื่องราว การใช้เครื่องมือการทำประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่แหลมโพธิ์ ในตอนต่อไป เราจะนำเสนอ อุปกรณ์ การทำประมงพื้นบ้านชนิดต่อไป โปรดติดตาม ตอนต่อไป..

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                          สมาคมรักษ์ทะเลไทย

ตอนที่ 3

14.jpg
17.jpg

          แหลมโพธิ์ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายด้านทรัพยากรวิถีชีวิตซึ่งในสมัยอดีต    การทำงานงานชุมชน ส่วนใหญ่จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีจิตอาสา ในการทำงานและร่วมพัฒนาชุมชนโดยไม่มีตำแหน่ง มีแต่ความศรัทธา     และความเชื่อมั่นที่จะ สร้าง ให้ชุมชน มีวิถีชีวิต ที่เรียบง่ายไม่มีปัญหาอื่นๆเข้ามา ในชุมชนประมงพื้นบ้านในตำบลแหลมโพธิ์ ก็จะมีแกนนำประมงพื้นบ้าน และแกนนำธรรมชาติที่มีจิตวิญญาณ ในการ พัฒนาร่างในอดีตได้มีงานวิจัย 2 เรื่องที่น่าสนใจ คือ เรื่องที่ 1 เสียงสะท้อนจากหมู่บ้าน ประมง อ่าวปัตตานี เรื่องที่ 2 ความทรงจำในอ่าวปัตตานี ทั้ง 2 เรื่อง เป็นงานเขียน จากทีมงานนักวิจัยชุมชน ในพื้นที่โดยจะมีมูลนิธิเล็กประไพวิริยะพันธุ์ เป็นหน่วยงาน สนับสนุนและทำวิจัยในครั้งนี้ ในการปัจจุบัน บุคคลเหล่านี้ ควรจะได้รับการถ่ายทอด ความน่าสนใจ เรื่องราวการทำงาน ด้านงานพัฒนา งานอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจากงานวิจัยทั้งสอง แนะนำเหล่านี้เป็นงานวิจัยเมื่อปี2547 จะมีการอัพเดทข้อมูล และค้นหาความสำคัญ ความจำเป็น คำคมคนกลุ่มหนึ่ง ที่เป็นแกนนำ ในด้านต่างๆของชุมชนว่ามีความสำคัญหรือเปล่า และได้มีการรวมตัว จะทำ งานวิจัยชุมชนเช่นนี้เพื่อหาคำตอบ ว่าบุคคลเหล่านี้ ควรส่งเสริม และสร้าง คนรุ่นใหม่ให้มาแทนที่เพื่อจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีของคน ในชุมชนต่อไป หรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไป..

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                          สมาคมรักษ์ทะเลไทย

ตอนที่ 4

19.jpg
20.jpg

         สืบเนื่องมาจากตำบล แหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีชาวบ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำประมงพื้นบ้านและมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงปัจจัยหลายๆด้านที่ทำให้เกิดวิถีชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ อย่างเช่นกรณีการดูทิศทางลม ที่ใช้ในการ ทำประกอบอาชีพทำการประมงพื้นบ้านทิศทางลม เป็นสิ่งสำคัญ อย่างมาก ที่จะบอก ลักษณะภูมิอากาศที่สามารถทำมาหากิน และจะสามารถ บอกว่าช่วงนี้เป็นช่วงฤดูอะไร ผลผลิตที่ได้ สัตว์น้ำจะเป็นสัตว์น้ำชนิดใด เรามาเรียนรู้เรื่องทิศทางลมกันนะครับ ทิศทางลมในพื้นที่จะมีทั้งหมด 8 ทิศได้แก่
1. ลมเหนือจะพัด จากทิศเหนือ เข้าหาฝั่ง ช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมกลางวันลมจะพัดสบาย ลมทะเลจะเรียบสงบจนมีคำว่า"ลิงเพลินจนตกต้นไม้" สามารถออกทะเลได้ไหม หรือชาวบ้านเรียกว่า อางิงตารอ ส่วนผลผลิตที่ได้ ในช่วงเดือนนี้ จะเป็น สัตว์น้ำหลายๆชนิดผสมรวมกัน จะไม่มีสัตว์น้ำชนิดไหนที่ 1 ที่เด่นแต่จะได้ผลผลิต ที่ได้ไม่ค่อยเยอะพออยู่ได้
2. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะเป็นช่วง ฤดูร้อนน้ำในอ่าวปัตตานี จะร้อนจัดจนทำให้ปลาบางชนิดตายหรือนี้ลงไปน้ำลึก แต่ช่วงนี้ ก็ยังเป็นทะเล เรียบ สงบชาวประมงพื้นบ้านก็สามารถที่จะออกทะเลไปในช่วงระยะที่ไกลกว่าปกติได้
3.ลมตะวันออก ช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม อยู่ในฤดูมรสุม จากอิทธิพลลม ทะเลจีนใต้ทำให้ฝนตกชุกคลื่นลมแรง ชาวบ้านเรียกว่า"ลมตาแดง" หรือ"ตารอมาตอแมเราะ" ในช่วงนี้จะมีสัตว์น้ำหลายๆชนิดที่โดดเด่น ได้แก่ ปลากระบอก กุ้งแช่บ๊วย ลูกปลาเก๋าจากทะเล ปูม้า ปูดำ
4. ลมตะวันออกเฉียงใต้ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์จะเป็นช่วงคลื่นลมแรงฝนตกหนักในบางช่วงกลางวันลมแรงส่วนกลางคืนลมเบาและพัดอากาศเย็นจะได้ขึ้นมาสู่ฝั่งหรือบ้านเรียกว่า "อางิงสือลาแตตารอ" ในช่วงนี้ของปีชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจะว่างจากการทำงาน เพราะไม่สามารถออกทะเลได้ หรือสามารถออกทะเลได้บางช่วงเวลาเท่านั้น สัตว์น้ำ ก็จะเป็นพวกปู กุ้ง เป็นหลัก
5. ลมใต้ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนเข้าสู่ฤดูร้อนบางช่วงลมแรงพัดจนบ้านเรือนเสียหายหรือชาวบ้านเรียกว่า "อางิงสลาแต" ช่วงนี้ก็จะมีผลผลิตจากการทำประมง ได้แก่ปูม้าปลากระบอก กุ้งปูดำและปลาโขดหินต่างๆ เช่น ปลากระพงปลาเก๋า
6. ลมตะวันตกเฉียงใต้ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายนเป็นลมที่พัดจากภูเขาพัดเข้ามาพร้อมกลิ่นหอมของมวลดอกไม้ ชาวบ้านเรียกว่า " อางิงบาระดาระ" ความโดดเด่นในช่วงนี้เมื่อเกิดลมพัด จะมีกลิ่นหอมหวลจากดอกไม้ บนบกจากเทือกเขาที่ล้อมรอบในพื้นที่สัตว์น้ำทะเลในช่วงนี้ก็จะเป็นกุ้งหอย ปูดำปูม้า
7. ลมตะวันตกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "อางิงบาระตือปะ" ในช่วงเย็นจะมีลมแรงบางวันฝนตกหนัก เพราะได้รับอิทธิพล อยากฟังทะเลอันดามันน้ำหนักจะลดลงเมื่อลมแรงชาวบ้าน ยังสามารถออกทะเลได้ และที่ลักษณะเด่นในช่วงนี้ปลาดุกทะเล และปูดำ จะมีการวางไข่และสัตว์อื่นจะมีตามปกติเช่นกุ้งปูม้าปูดำ
8. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ หรือชาวบ้านเรียกว่า "อางิงบาระลาโอะว" จะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนเป็นช่วงลมพัดแรง บางครั้งทำให้มีบ้านเรือนเสียหายจะพัดมาตอนกลางคืนช่วงหัวค่ำจัดน้ำก็ยังหาได้ตามปกติในอ่าวปัตตานี
       จะเห็นได้ว่าคนในพื้นที่ตำบลแหลมโพธิ์ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใดๆก็จะสามารถหาจับสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี เพราะว่าเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ที่มีทะเลในที่เรียกว่าอ่าวปัตตานีและทะเลนอกที่เป็น เอาไทย ถ้าเย็นๆมีทรัพยากรให้ใช้ตลอดทั้งปีอย่างนั้นในปัจจุบันความแปรปรวนของลม ไปในทิศทางที่ไม่เหมือนในอดีตและบางพลี จะมีลม ปลายทาง ซึ่งยังคาดการณ์ไม่ได้ ว่าสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิประเทศในปัจจุบันหรือไม่ ติดตามตอนต่อไป..

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                          สมาคมรักษ์ทะเลไทย

ตอนที่ 5

21.jpg
23.jpg

         วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนของตำบลแหลมโพธิ์ก็ยังดำเนิน กิจกรรม เกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านอยู่ทุกวัน      การออกหาปลาปูกุ้งหอยในแต่ละครั้งคนในชุมชนที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านได้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ การใช้และการสังเกตลักษณะต่างๆของทรัพยากรรอบข้างในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องน้ำขึ้นน้ำลงที่เกิดขึ้นวันละ 2 ครั้งโดยส่วนใหญ่จะเกิดกลางวัน1 ครั้งและกลางคืน 1 ครั้ง มีอิทธิพลต่อการทำประมงพื้นบ้านเป็นอย่างมากเพราะว่า เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำหลายๆประเภทต้องอาศัยช่วงจังหวะ  กระแสน้ำจึงจะสามารถหาปลา ได้มากที่สุดรวมถึงการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำที่อาศัยกระแสน้ำและน้ำขึ้นน้ำลง เป็นช่วงจังหวะในการออกหาอาหารในพื้นทีอยู่ด้วย จากข้อมูลที่ได้จาก ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ การหาปลาหรือการหาทรัพยากรในทะเลหน้าบ้านในช่วงน้ำขึ้นและน้ำลงจะมีสัตว์น้ำที่หาได้แตกต่างกันในช่วงน้ำขึ้น ชาวบ้านก็จะใช้อุปกรณ์ในการหาปลา ช่วงที่จับปลาได้เยอะมากที่สุดจะเป็นช่วงที่น้ำ ขึ้น เริ่มหยุดนิ่งและเริ่มจะลงเป็นช่วงที่สามารถหาปลาได้มากที่สุดอย่างเช่น การวางเบ็ดราวปลาดุกทะเลเพราะปลาดุกทะเลจะออกจากโพรงมาหาอาหาร อวนปลากระบอก อวนกุ้ง อวนปู เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่สัตว์น้ำร่าเริงและออกหากินเป็นจำนวนมาก รวมถึงหอยที่อยู่ในอ่าวปัตตานี แต่ชาวประมงที่มีอาชีพหาหอยจะไม่ค่อยชอบช่วงน้ำขึ้น เพราะน้ำขึ้นทำให้พื้นที่ชายฝั่งมีความลึก จะยากลำบาก ในการหาหอยดังนั้น ชาวบ้านที่มีอาชีพหาหอยจะสังเกตในช่วงที่น้ำเริ่มลงหรือน้ำแห้ง ว่าจะลงไปเก็บหอย แต่เรื่องราวทั้งหมด และจำนวนของสัตว์น้ำที่จับได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย ที่ได้นำเสนอในช่วงที่แล้วและทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวงจรที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฤดูกาล ทิศทางลม เครื่องมือที่ใช้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน น้ำขึ้นน้ำลง เป็นสิ่งที่ชาวประมงพื้นบ้านทุกพื้นที่ ต้องมีเรียนรู้และสามารถเก็บความรู้ได้จากประสบการณ์ ที่ใช้ชีวิต ตลอดระยะเวลาที่เป็นชาวประมง

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                          สมาคมรักษ์ทะเลไทย

24.jpg

ตอนที่ 6

28.jpg
27.jpg
26.jpg
30.jpg

          จากตำบลแหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีทีมงานวิจัยชุมชนได้มีโอกาสเดินทางสู่บ้านในถุ้งอำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของแกนนำ ในชุมชน เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็ง ในการจัดการทรัพยากรหน้าบ้านอยู่คู่ กับชุมชนตลอดไป

เสียงสะท้อนจากนครศรีถึงปัตตานีได้มี การเสริมพลัง ให้กับทีม งานวิจัยชุมชนมีการแลกเปลี่ยนถึงกระบวนการต่างๆในช่วงที่ผ่านมา การแก้ปัญหา การดำเนินกิจกรรมต่างๆ อุปสรรคต่างๆ ทำให้ทีมงาน วิจัยชุมชนรู้สึกมีพลัง ที่จะขับเคลื่อนงาน และประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือและโครงสร้างต่างๆเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเช่น กลุ่มอนุรักษ์ชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มออมทรัพย์ชาวประมงพื้นบ้าน ปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้าน บ้านในถุ้ง ได้พัฒนาและยกระดับของกลุ่มให้เป็นสมาคมเพื่อความมั่นคงและการมีตัวตนที่สามารถดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆได้ตามเป้าหมาย ทางทีมงานวิจัยชุมชนตำบลแหลมโพธิ์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เพื่อกลับมาดำเนินการจัดการทรัพยากรในชุมชนรวมถึงการจัดการข้อมูลเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยชุมชนต่อไป..

โดย อัสรีย์ แดเบาะ(อาเนาะปาตา)

                                                                                                                          สมาคมรักษ์ทะเลไทย

bottom of page