top of page

การฟื้นฟูและอนุรักษ์

98363273_3165022226870839_61912317183771

"ความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของสมาคมเรือประมงชายฝั่งคลองนาทับ กับการเลี้ยงหอยนางรมแบบคอนโด"
"หอยนางรม" เป็นอาหารทะเลที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ

อีกทั้งอุดมไปด้วยประโยชน์โภชนาการต่าง ๆ มีวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่าง ๆ เช่น สังกะสี ทองแดง วิตามินบี 12 วิตามินดี โปรตีน และโอเมก้า 3 เป็นต้น
หอยนางรมจึงเป็นที่นิยมและเชื่อว่าการรับประทานหอยนางรมอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ รักษาหรือป้องกันโรคภัยบางชนิดได้
" หอยนางคอนโดบ้านนาทับ"
ความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของสมาคมเรือประมงชายฝั่งคลองนาทับร่วมกับวิทยาลัยชุมชนและสมาคมรักษ์ทะเลไทยในการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหอยนางรมในคอนโดและเราจะไม่หยุดยั้งในการร่วมสร้างฐานทรัพยากรที่สมบูรณ์

เพื่อความสุขของชุมชน

แหลม.jpg

วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ในยามว่างเสาร์-อาทิตย์มีเด็กบางกลุ่มได้มีกิจกรรมในการวางอวนปลากระบอก
หรือในพื้นที่เรียกว่า "อวนรถพ่วงข้าง(ปูกะโช่เลย์)"

เพราะสามารถที่จะจับสัตว์นำ้ได้หลายชนิดที่เหมือนรถโช่เลย์ที่สามารถบรรทุกได้หลายอย่าง จะเป็นอวนสามชั้นใช้เส้นเอ็นชั้นแรกจะเป็นอวนตาขนาดใหญ่ประมาณ 8 cm ชั้นในจะเป็นตาอวนขนาด 3.5 cm.และจะมีตาอวนขนาด 8 cm.ปิดอีกชั้น หนึ่งผืนจะมีความลึก 75-100 ตาอวน ยาวประมาณ 35 เมตร ราคาต้นทุนอยู่ที่ 750-1,000 บาท ต่อผืนและในเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจะใช้อวนประมาณ15-20 ผืนต่อลำ
การวางอวนจะมี 2 รูปแบบ

1.วางแบบปกติประมาณ1-2 ชั่วโมงยกหนึ่งครั้ง

2.วางแบบล้อมฝูงแล้วขดเวียนเข้าข้างในเหมือนก้นห้อย

ส่วนใหญ่จะเป็นการจับสัตว์น้ำในทะเลใน (อ่าวปัตตานี) สามารถทำการประมงได้ทั้งปี
นับเป็นวิถีชีวิตที่ชุมชนสามารถอยู่ได้โดยอาศัยทัพยากรในพื้นที่อย่างมีจิตสำนึกและสามารถใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนต่อไป. เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของเครื่องมือในการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลแหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ติดตามการใช้เครื่องในการทำประมงพื้นบ้านต่อไปว่าที่นี่แหลมโพธิ์ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไรติดตามตอนต่อไป

ปลาเก๋า.png

"การเลี้ยงปลาเก๋าในกระชังของประมงพื้นบ้านทะเลนอก"
ปัจจุบันปลาเก๋าราคาดีเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภค แม่ค้าคนกลางเข้ามารับซื้อส่งไปต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย "ทองส้อง แสงมณีประดับ" เป็นผู้ริเริ่มการเลี้ยงปลาเก๋าอันดับต้นๆ ของบ้านทะเลนอก บ่งบอกว่าสมัยก่อน เมื่อย้อนไปประมาณ 40 ปี ปลาเก๋าตามธรรมชาติมีชุกชุมทะเลหน้าบ้าน แต่ไม่มีราคาและไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีใครนิยมกินกัน
ซึ่งการเลี้ยงปลาเก๋าในปัจจุบัน ต้องอาศัยทั้งเงินทุนซื้ออาหารกับลูกปลาเก๋า และภูมิปัญญา การไปดักจับลูกปลาเก๋าในทะเล เพื่อลดต้นทุน
โดยน้าทอง (ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่) กล่าวว่าตนใช้ไซไปดักจับลูกปลาเก๋าในทะเลห่างจากฝั่งไปประมาณ 1 กิโลเมตร จมไซไว้ 1-3 วัน จึงจะไปกู้ไซขึ้นมา ปลาเก๋าชุกชุมช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม บางครั้งติดไซมากถึง70-80 ตัว
ด้วยลูกปลาเก๋าในปัจจุบันมีราคาสูงกล่าวคือ ขนาด 4-5 นิ้ว ตกอยู่ที่ตัวละ 15 บาท ขนาด 8-10 นิ้ว ตัวละ 40 บาท กระชังขนาด 4x4 เมตร ใส่ลูกปลาเก๋าไม่เกิน 300 ตัว ปลาเป็ดที่ทำเป็นเหยื่อลูกปลาเก๋า กิโลกรัมละ 13 บาท อายุการเลี้ยงปลาเก๋า 1ปีกว่าๆ สามารถจับขายได้ ขนาดปลาเก๋าเป็นที่ต้องการของตลาด คือ ขนาดตัวที่มีน้ำหนัก 8 กรัมถึง 1.2 กิโลกรัม ราคาก่อนไม่มีโควิด 19 กิโลกรัมละ 240-250 บาท ราคาเกิดโควิด 19 กิโลกรัมละ 180-200 บาท
ซึ่งปัจจุบันปลาเก๋ามีทั้งแบบเลี้ยงในกระชัง และอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในทะเล ราคาก็จะแตกต่างกันไป ประมงพื้นบ้านสร้างอาชีพ มีรายได้ ควบคู่การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลสืบไปในอนาคต

สมาคมชาวประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเร ได้รับเกียรติจากนายอำเภอปะนาเระ

(นายวิภาค ภู่เพชร) มาพบปะกับทีมงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเระ รวมถึงประมงอำเภอปะนาเระและหัวหน้าหน่วยปราบปรามประมงทะเล ที่มาร่วมกิจกรรมวางซั้งกอ หรือการสร้างบ้านปลา ในครั้งนี้
และวันนี้เราพามาทำความรู้จักซั้งชุมชนน้ำลึกกัน "ซั้งชุมชนน้ำลึก" จะมีพิกัดการวางซั้งอยู่ห่างฝั่งประมาณ 2-3 ไมล์ทะเลน้ำจะมีความลึกประมาณ 20-25 เมตร จะวางจุดละ10-50 ชุด
ลักษณะของซั้ง 1 ชุดจะประกอบด้วยดังนี้
1.ไม้ไผ่ที่จะทำเป็นทุ่นลอยและจะผูกปลายด้วยทางมะพร้าวแห้งแทนธง ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง3-4 นิ้วยาวประมาณ 8-12 เมตร
2.เชือกขนาด 8 มม.ความยาวตามความลึกของน้ำ ปลายบนจะผูกกับไม้ไผ่ปลายล่างจะผูกกับกระสอบบรรจุทรายและระหว่างไม้ไผ่กับกระสอบทรายจะผูกทางมะพร้าวสดและจะแซมด้วยกิ่งไม้สดด้วย
3. ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้สด ซั้ง1 ชุดจะใช้ทางมะพร้าวสดประมาณ 5- 10 ทาง จะผูกเรียงที่เชือกที่อยู่ในน้ำระหว่างไม้ไผ่กับกระสอบทรายก้นทะเล
4.กระสอบบรรจุทรายจะใช้จำนวน 2 ใบต่อชุด บรรจุทรายเต็มเพราะถ้าเป็นซั้งน้ำลึกต้องใช้กระสอบทราย 2 ใบเป็นฐานจะได้ไม่เคลื่อนที่ตามกระแสน้ำ

117158031_3374330392606687_2305328223159
ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ.png

สมาคมชาวประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเระได้ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระชนมพรรษา 88 พรรษา ณ ชายหาดบ้านแฆแฆ ตำบลน้ำบ่ออำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานี

"อะโบ๊ยหมะเลจะนะหรอยจ้าน ชวนมาบอกรักทะเล ปกป้องทะเล ครั้งที่ 6"
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตของคนในชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ว่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อส่งต่อไปยังอนาคต
โดยจัดขึ้น ณ ชายหาดบ้านสวนกง ม.11ต.นาทับ อ.จะนะ

หาดทรายขาวสะอาดมีเนินทรายอายุร่วมกว่า 6,000 ปี

และมีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
กิจกรรมในปีนี้ โดดเด่น เช่น การปล่อยเต่าตนุจำนวน9ตัวปัญจะสีลัก,แข่งแกะปู ,

แข่งขันขวัดข้าว(ร่อนข้าวเปลือก) กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และไฮไลท์เด็ดเป็นประจำทุกๆ ปี

อยู่ที่ "การแข่งเรือเกยหาด" นั้นเอง

117445489_3401303293242730_7199729258200
วางซํ้งประจวบ.png

ทางสมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ได้มีการจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา (การทำซั้งกอ) ครั้งที่3 ประจำปี 2563
โดยได้รับการสนับสนุนในกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่
สภาสิ่งแวดล้อมจำนวน 50 ต้น
กลุ่มสปีดโบ้ทตกปลา 20 ต้น
รวมทั้งหมด 70 ต้น ในครั้งนี้
ร่วมรักษาทะเลกับเราเพื่อสร้างความยั่งยืนให้มีทรัพยกรทางทะเลเพิ่มขึ้น

bottom of page